เจาะลึกปัญหา "ครูเวร" มีผลกระทบ-แก้ไขอย่างไรได้บ้าง-

จากกรณีที่ครูสาวคนหนึ่งที่ต้องเข้าเวรในโรงเรียนช่วงวันหยุด ถูกชายที่ทางโรงเรียนจ้างให้มาตัดต้นไม้ในโรงเรียนทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนชายคนดังกล่าวจะเดินทางเข้ามอบตัวกับตำรวจในเวลาต่อมา

ทำให้เกิดคำถามขึ้นในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรในแวดวงการศึกษาว่า สมควรให้ครูเลิกเข้าเวรหรือไม่?

หากย้อนไปเมื่อเดือน พ.ย. ปี 66 จะพบว่า ประเด็นคำถามดังกล่าว ถูกนำมาพูดคุยในงาน “ครูนอนเวร…หน้าที่เฝ้ายามโรงเรียน เป็นของครูหรือของใคร?” ที่จัดโดยเพจ I AM KRU. สังคมสร้างสรรค์ของคนสอน

ดราม่ายกเลิกครูเวร! หลังครูสาวอยู่เวรโรงเรียน โดนหนุ่มบุกทำร้าย

ใบประกอบวิชาชีพครู 2567 เช็กสถานที่-วิธีสมัครสอบ เริ่มวันนี้ ถึง 27 ม.ค.

ซึ่งงานนี้ ได้ นายรัตนชาติ สาระโป ครูจากโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่, นายร่มเกล้า ช้างน้อย ครูจากโรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์, และ นายสุพศิน เงินส่ง ครูจากโรงเรียนวัดประตูใหญ่ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว

 เจาะลึกปัญหา "ครูเวร" มีผลกระทบ-แก้ไขอย่างไรได้บ้าง-

เริ่มจาก นายสุพศิน เงินส่ง ระบุว่า การอยู่เวรของคุณครูมีข้อดีสำหรับผู้ที่มาติดต่อราชการ หรือการประสานงานต่าง ๆ จึงมองว่าครูเวรยังจำเป็นอยู่ เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยเฉพาะในโรงเรียนตามชนบท ที่อาจไม่มีกล้องวงจรปิด หรือไม่มีห้องรับรองสำหรับครูเวร ซึ่งหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น ครูก็คงช่วยอะไรไม่ได้

ด้าน นายรัตนชาติ กล่าวว่า เนื่องจากโรงเรียนของตนอยู่ในชุมชน การมีครูเวรไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า กลางคืน หรือเสาร์-อาทิตย์ จะช่วยให้คนในชุมชนอุ่นใจ หากมีเหตุไม่คาดฝันสามารถเข้าโรงเรียนมาพึ่งพิงได้

ส่วน นายร่มเกล้า กล่าวโดยอ้างอิงข้อความจากบุคคลหนึ่งว่า การอยู่เวรเหมือนรับผิดชอบการอยู่ ไม่ได้รับผิดชอบเหตุ คือถ้าไม่อยู่จะถือว่าเราผิด แต่ถ้าอยู่แล้วเกิดเหตุ จะถือว่าไม่ผิด และจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการอยู่เวรของคุณครูเป็นสำคัญ

การอยู่เวร ใช่หน้าที่ครูจริงหรือ?

นายร่มเกล้า กล่าวว่า เคยคุยกับบุคคลท่านหนึ่ง พร้อมได้แนวคิดมาว่า การอยู่เวรอาจให้ผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องนี้ เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนี้มากขึ้น เช่น กรณีเด็กยากจน อาจต้องได้ความช่วยเหลือจากกระทรวงอื่นด้วย เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไม่ใช่ให้ครูหรือทางโรงเรียนจัดการอย่างเดียว

ด้าน นายรัตนชาติ กล่าวว่า จากการสังเกต ราคาที่รัฐหรือโรงเรียนต้องจ่ายให้กับครูเวร มีเพียงคำชม ที่ชื่นชมว่าการที่ครูอยู่เวรเป็นการเสียสละ ช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยให้โรงเรียน ซึ่งก็เคยมีข่าวว่ามีครูผู้หญิงคนหนึ่งที่ จ. ชัยภูมิ ป้องกันเด็กจากคนคุ้มคลั่ง ทำให้อาจเกิดการตั้งคำถามได้ว่า ครูที่ไม่อยู่เวร คือใช่ครูหรือเปล่า ไม่มีความเสียสละเลย

ผลกระทบของการอยู่เวร

นายร่มเกล้า ระบุว่า ตนเป็นคนนอนยาก เมื่อต้องอยู่เวรที่โรงเรียนจะนอนได้น้อย ทำให้เช้าวันต่อมาง่วง ไม่มีพลังงานในการสอน ซึ่งถือเป็นผลกระทบหลัก ๆ ของตน สำหรับการอยู่เวร และหากช่วงไหนคนทำความสะอาดไม่อยู่ ห้องพักจะมีฝุ่นและทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หรือหากแอร์เสียตนจะเกิดผด จากอาการแพ้เหงื่อตนเอง และส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วยคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่

ด้าน นายรัตนชาติ กล่าวว่า สำหรับตนจะส่งผลต่อสุขภาพจิตเล็กน้อย เนื่องจากเมื่ออยู่ในช่วงนอกเวลาสอน หรือหลังเด็กเลิกเรียน ตนอยากผ่อนคลาย ไม่อยากทำงาน ถ่ายรูปรายงานการอยู่เวร หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียน ซึ่งจึงเป็นจุดที่ทำให้ขัดใจเล็ก ๆ

ส่วน นายสุพศิน กล่าวว่า ตนมองเห็นผลกระทบที่มีต่อคุณครูบางคนที่มีลูก มีครอบครัว ทำให้มีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง หากเป็นโรงเรียนใหญ่อาจไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่หากเป็นครูตามโรงเรียนในชนบทที่มีบุคลากรน้อย อาจทำให้เวลาที่อยู่กับครอบครัวหายไป และส่งผลกระทบในเรื่องพลังงานในการทำงาน เนื่องจากการนอนเวรที่โรงเรียนไม่ได้สะดวกสบายเหมือนการนอนอยู่ที่บ้าน

ทำอย่างไร ให้การอยู่เวรไม่ส่งผลเสียต่อคุณครู?

นายรัตนชาติ กล่าวว่า ด้วยความที่โรงเรียนที่ตนสอนไม่เคร่งเรื่องการอยู่เวร ทำให้ครูที่ไม่สะดวก สามารถแวะเข้ามาตรวจความเรียบร้อย รายงานเวรแล้วกลับได้ เช่น อยู่เวรจนถึงช่วง 3 ทุ่ม ต่อจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของทางพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยที่ไม่ต้องนอนเวรค้างคืน ทำให้สามารถพักผ่อน ใช้เวลาอยู่กับตนเองและครอบครัวได้เต็มที่ และทางโรงเรียนก็ไม่มีเหตุร้ายใด ๆ เกิดขึ้นในวันที่ไม่มีครูอยู่เวร

ด้าน นายสุพศิน กล่าวว่า โรงเรียนเล็ก ๆ จะไม่มีงบประมาณจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย และจะยกเลิกครูเวรเลยทันทีคงไม่ได้ ตนจึงมีแนวคิดว่าอยากให้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ให้ครูไม่จำเป็นต้องเข้าเวรทุกคืน สามารถแวะเวียนมาตรวจตราแบบไม่ต้องค้างคืนได้ หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

ส่วน นายร่มเกล้า ให้ความเห็นว่า ควรผลักดันภาครัฐ ในการสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่สามารถตรวจสอบผ่านสมาร์ตโฟนได้ เนื่องจากมีความสะดวกและครอบคลุม สามารถตรวจตราได้ในทุกจุดที่มีกล้อง อาจให้ส่วนกลางสนับสนุนโดยจัดให้เป็นมาตรฐานทั่วกัน เพื่อให้เข้าถึงโรงเรียนเล็ก ๆ ด้วย

นายร่มเกล้า แย้มว่า ขณะนี้ทางหน่วยงานการศึกษาของกรุงเทพมหานคร มีความพยายามไม่ให้ครูนอนเวร โดยมีแนวคิดคล้ายนิติฯ คอนโดมีเนียม ที่มีหน้าที่จ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย และเปลี่ยนคนในทุก ๆ วาระ ซึ่งอาจจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยลงสู่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

หรือในกรณีที่แย่ที่สุดสำหรับตน คือ หากมีงบประมาณมากพอ สามารถจ้างครูที่ต้องการนอนเวรก็ได้

เรียบเรียงจาก เฟซบุ๊กI AM KRU. สังคมสร้างสรรค์ของคนสอน

You May Also Like

More From Author